วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

What did I really learn on 7 JAN

จากที่ได้ศึกษากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน  สัญญาการจ้างงาน และหลักการของกฎหมายธุรกิจ ได้รับความรู้ว่า
 กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา             
กฎหมายพาณิชย์  คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น
  ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก  
  กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานและการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างทำงานด้านความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยดี ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามสมควร       
(1) สัญญาการจ้างงาน
สัญญาการจ้างงานก็คือ สัญญาที่นายจ้างทำกับลูกจ้างแต่ละคนเกี่ยวกับข้อตกลงและข้อแม้ต่าง ๆ
ในการว่าจ้างงานนายจ้างจะต้องระบุ ค่าจ้าง เวลาการทำงาน และข้อตกลงและข้อแม้อื่น ๆ ในการว่าจ้าง ที่มีต่อลูกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นให้แก่ลูกจ้างเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการตกลงกันด้วยวาจา ในสัญญาที่ทำกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างนั้น ควรจะเขียนรายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะเขียนได้ถ้าสัญญาเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่น ก็ควรเอาไปแปลเป็นภาษาไทยและทบทวนตรวจสอบใจความว่าถูกต้องตามที่ตกลงกันไว้

(2) ใจความในสัญญาที่จะต้องระบุเป็นลายลักษณ์อักษร
(1) ระยะเวลาว่าจ้าง
(2) สถานที่ทำงานและลักษณะใจความของงานที่จะให้ทำ
(3) เวลาเข้าทำงานและเวลาเลิกงาน ค่าทำงานล่วงเวลาว่าจะมีหรือไม่ ถ้ามีอัตราเท่าไร เวลาหยุดพักระหว่างการทำงาน วันหยุด การขอลาหยุด
(4) ค่าแรงงานและวิธีการคำนวณค่าแรง การจ่ายค่าแรง วันและเวลาจ่าย การขึ้นค่าแรงเป็นต้น
(5) การขอออกจากงานถ้าทางบริษัทมีคู่มือที่เกี่ยวกับการทำงาน และ หลักเกณฑ์กฎข้อบังคับ จำเป็นจะต้องขอดูและตรวจสอบใจความให้แน่ชัดก่อน

(3)การยกเลิกสัญญาจ้างและการลาออกจากงาน
(1) ถ้าสัญญาว่าจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างงานไว้
นายจ้างจะต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงการยกเลิกสัญญาจ้างอย่างน้อย 30 วันล่วงหน้า ถ้าถูกยกเลิกสัญญาจ้างโดยทันที ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับเงินชดเชยเป็นจำนวนเงินเฉลี่ยของค่าจ้างอย่างน้อย 30 วัน
(2) ถ้าสัญญาว่าจ้างได้กำหนดระยะเวลาการจ้างงานไว้
ถ้านายจ้างไม่มีเหตุผลอันสมควร จะขอยกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลาการจ้างที่ได้ทำสัญญากันไว้ไม่ได้ ถ้าจำเป็นจริง ๆ ก็จะต้องบอกล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน หรือจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้
(3) ถ้าลูกจ้างไม่พอใจในการถูกยกเลิกสัญญาว่าจ้าง
ก่อนอื่นก็จะต้องไปเจรจากับนายจ้างถึงความไม่พอใจที่มี ควรจะต้องถามให้ชัดเจนว่าทางนายจ้างจะออกใบรับรองว่าได้ลาออกให้หรือไม่ และจะระบุในใบรับรองว่าเป็นการยกเลิกสัญญาจ้างหรือว่าลาออกเอง ถ้าเป็นการยกเลิกสัญญาจ้างก็ควรสอบถามให้ชัดเจนว่าสาเหตุของการยกเลิกคืออะไร
การลาออกจากงาน
ถ้าลูกจ้างแจ้งกับนายจ้างหรือยื่นใบลาออกแก่นายจ้างและทั้งสองฝ่ายตกลงตามนั้น ก็จะถือว่าสัญญาการว่าจ้างหมดสภา ถ้าไม่ได้กำหนดระยะเวลาการว่าจ้างไว้ ลูกจ้างจะสามารถขอลาออกได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากนายจ้าง และจะสามารถออกจากงานได้ภายใน 2 อาทิตย์หลังจากที่ได้แจ้งให้นายจ้างทราบถ้าได้กำหนดระยะเวลาการว่าจ้างไว้ และยังอยู่ในระยะเวลานั้น ถ้าไม่มีเหตุผลอันควร ลูกจ้างจะขอลาออกหรือยกเลิกสัญญาว่าจ้างไม่ได้ตามปกติ เมื่อขอลาออก แล้วทางนายจ้างอนุมัติแล้ว จะขอเปลี่ยนใจว่าจะไม่ออกไม่ได้ การขอลาออกเป็นเรื่องที่จะต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบเสียก่อนเมื่อขอลาออกแล้ว ถ้าขอให้จ่ายค่าจ้างที่ยังเหลือค้างอยู่ ก็สามารถรับได้ภายใน 7 วันถ้ามีเงินสะสมอื่น ๆ หรือเงินฝากที่ทำไว้กับนายจ้าง ก็สามารถจะขอรับคืนได้เช่นเดียวกันนอกจากนั้น ลูกจ้างก็จะต้องคืนบัตรประจำตัวพนักงาน เสื้อแบบฟอร์ม บัตรประกันสุขภาพ และของอื่น ๆ ของบริษัท ให้แก่ทางนายจ้างภายในระยะเวลาที่ได้ระบุไว้ในระเบียบการจ้างงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น