ความรู้ที่ได้จากการเรียนเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2555 ในหัวข้อTraining & Development, Performance Management, Career Planning, Employer Branding, Compensation & Benefits ได้รับความรู้ดังนี้
Training & Development
หัวใจสำคัญของการเรียนรู้คือ คนอยากจะเรียนรู้ก็ต่อเมื่อมีFeedback ซึ่งองค์กรจะมี Feedback โดยการประเมินงานของพนักงาน การTraining ต้องเตรียมคนและบอกจุดมุ่งหมายว่าทำไมต้องอบรม เมื่ออบรมแล้วจะได้ประโยชน์อะไร การอบรมต้องมีmotivationให้พนักงาน
ปัจจัยการพัฒนาคนเก่ง มีดังนี้
- Job Assignments การมอบหมายงานให้
- Coaching Feedback การอธิบายให้เขาเห็นภาพที่ชัดเจนว่าพฤติกรรมที่เขาได้ทำไปนั้นส่งผลเสียอะไรบ้างโดยชี้ให้เห็นเป็นรูปธรรม จะช่วยให้เขาสามารถนำ Feedback นี้ไปปรับปรุงหรือแก้ไขได้
- Mentoring คอยเป็นพี่เลี้ยงที่สารถให้คำแนะนำ ปรึกษา และความรู้
- Training
Performance Management คือการบริหารผลการปฏิบัติงาน คือระบบการบริหารการจัดการเพื่อให้ผลการปฏิบัติงานขององค์กรและพนักงานเป็นไปในทางทิศทางเดียวกัน
Purpose of Performance Management
1. เปลี่ยนเป้าหมายองค์กรเป็นเป้าหมายพนักงาน แบ่งงานกัน
2. การทำงานสอดคล้องกับเป้าหมายรวม
3. สร้างความชัดเจนว่าหัวหน้าคาดหวังอะไร
4. ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
5. เอาไปใช้ในกระบวนการจัดการทรัพยากรบุคคลเช่น การพัฒนาคน แผนประสบความสำเร็จ หรือ ค่าตอบแทน
Career Planning การวางแผนอาชีพ เพื่อการพัฒนาองค์การ
การวางแผนอาชีพ ถือเป็นหน้าที่หลักหน้าที่หนึ่งของนักทรัพยากรมนุษย์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างขวัญ กำลังใจ และรักษาคนเก่งคนดีไว้ในองค์การ โดยใช้การวางแผนอาชีพเป็นเครื่องมือช่วยในการกำหนดความก้าวหน้าในการงาน การทำงานของพนักงานอย่างมีเป้าหมาย และกำหนดหนทางไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมาย ดังนั้นวิธีการนี้จึงมีจุดมุ่งไปยัง บุคลากรให้มีความตระหนักต่อความสนใจ คุณค่า จุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง การได้รับสารสนเทศ เกี่ยวกับความก้าวหน้าในหน่วยงาน การวิเคราะห์เป้าหมายในอาชีพ และการกำหนดแผนปฏิบัติงานเพื่อบรรลุเป้าหมายในอาชีพ
ผู้บริหาร บุคลากร และองค์การ มีบทบาทในการพัฒนางานอาชีพ กล่าวคือ บุคลากรแต่ละคน ต้องยอมรับความรับผิดชอบในงานของตน ประเมิน ความสนใจ ทักษะ และค่านิยาม ตลอดจนแสวงหาข้อมูล และทรัพยากรที่เกี่ยวกับงานอาชีพ เพื่อการก้าวหน้าไปสู่ความมั่นใจ จะเป็นงานอาชีพที่มีความสุขและความสำเร็จ ผู้บริหารแต่ละคนจะต้องแสดงบทบาทในการพัฒนางานอาชีพของบุคลากร โดยจัดเวลาให้มีการป้อนกลับผลการปฏิบัติงาน ตามจุดมุ่งหมาย กำหนดให้มีการพัฒนาช่วยเหลือตลอด จนมีส่วนร่วมในการอภิปราย การพัฒนางานอาชีพผู้บริหาร ต้องแสดงตนเสมือนเป็นผู้ฝึกสอน (coach) ผู้ประเมิน (appraiser) เช่น รับฟังและทำแผนอาชีพของบุคลากรแต่ละคนให้ชัดเจน จัดให้มีการป้อนกลับข้อมูลสร้างทางเลือกในงานอาชีพ และเชื่อมโยงบุคลากรกับทรัพยากรขององค์กรและทางเลือกงานอาชีพ การดำเนินงานดังกล่าวสามารถทำ ตารางเปรียบเทียบได้ดังนี้
เมื่อการวางแผนอาชีพมีความสำคัญจึงขอนำเสนอกิจกรรมต่างๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการวางแผนอาชีพดังนี้
1.จัดให้มีศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากร เพื่อใช้เป็นผู้ทำหน้าที่สร้างและดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องมือในการประเมินตนเอง ตั้งแต่บุคลิกภาพ ความสามารถ ทักษะ
2.จัดให้มีคู่มือการวางแผนอาชีพเพื่อใช้เป็นแนวทางและแนวคิด สำหรับบุคลากรในการวางเป้าหมายในอาชีพของตน ซึ่งเนื้อหาสาระของคู่มืออาจประกอบด้วยการประเมินตนเอง การตรวจสภาพทิศทางของอาชีพ การอภิปรายวิธีการที่จะพัฒนาอาชีพ การจัดทำแผนปฏิบัติงาน
3.จัดให้มีการพูดคุย สนทนาระหว่างพนักงานและหัวหน้างาน เพื่อได้รับข้อมูลข่าวสาร รวมถึงวิเคราะห์ ติดตาม และประเมินพนักงานของตนว่าทำงานเป็นอย่างไร ควรจะพัฒนาอะไรเพิ่มเติม และโอกาสความก้าวหน้าจะเป็นอย่างไร
4.จัดให้มีที่ปรึกษาทางอาชีพหรือการให้คำแนะนำ โดยประกอบด้วย บทบาทของบุคลากรในการวางแผนอาชีพ และบทบาทของผู้บริหารในการให้คำปรึกษาทางอาชีพ และบทบาทขององค์กรที่รับผิดชอบในการวางแผนอาชีพดังนี้
4.1บทบาทของบุคลากรในเรื่องการวางแผนอาชีพ
- ริเริ่มที่จะสอบถามข้อมูลย้อนกลับจากผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับจุดแข็งและจุดอ่อนของพนักงาน
- วิเคราะห์ลำดับขั้นตอนการพัฒนาอาชีพและความจำเป็นที่ต้องการพัฒนา
- มีโอกาสที่จะเรียนรู้เพิ่มขึ้น
- ติดต่อสัมพันธ์กับบุคลากรจากลุ่มงานอื่นที่แตกต่างกัน ทั้งภายในและภายนอกเช่น สมาคมวิชาชีพ
4.2 บทบาทของผู้บริหารในการอภิปรายอาชีพ
- ผู้บริหารเพิ่มความตระหนักในเป้าหมายและความสนใจที่สัมพันธ์กับงานของบุคลากร
- ผู้บริหารและบุคลากรตกลงร่วมกันในขั้นต่อไปของการพัฒนา
- บุคลากรเข้าใจถึงมุมมองของผู้บริหารเกี่ยวกับผลงานของตน ความจำเป็น และทางเลือกในการพัฒนา
- ผู้บริหารและบุคลากรตกลงกันถึงวิธีการอย่าง ไรที่จะทำให้ความต้องการของบุคลากรสอดคล้องกับงานที่ทำ
- ผู้บริหารจัดสรรทรัพยากร เพื่อช่วยให้บุคลากรประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่ตกลงภายใต้การอภิปรายในอาชีพ
4.3 บทบาทขององค์กรที่รับผิดชอบในการวาง แผนอาชีพ
- ฝึกปฏิบัติเรื่องอาชีพเช่น การจัดสัมมนาในหัวข้อของการวางแผนอาชีพ
- มีศูนย์ข้อมูลอาชีพเช่น กำหนดให้มีฐานข้อมูลด้านอาชีพเกี่ยวกับตำแหน่งงาน การฝึกอบรม
- คู่มือการวางแผนอาชีพเช่น จัดทำคู่มือที่เป็นแบบฝึกหัดและอภิปราย
- การปรึกษาทางอาชีพเช่น จัดให้มีที่ปรึกษาด้านอาชัพเพื่อให้คำแนะนำ
- สายทางก้าวหน้าในอาชีพเช่น การวางแผนกลุ่มตำแหน่งงาน วิเคราะห์ทักษะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่สูงขึ้น
ในบทสรุปของการวางแผนพัฒนาสายทางก้าวหน้าในอาชีพ ถือเป็นกลยุทธ์ของการดำเนินงาน เพื่อให้องค์กรมีระบบกลุ่มงานอาชีพที่สามารถแสดงให้เห็นว่าตนเองอยู่ที่ไหน และมีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการรักษาบุคลากร ให้อยู่กับหน่วยงาน สร้างขวัญ กำลังใจ จูงใจ ทำงานอย่างทุ่มเทให้กับองค์กร
Employer Branding คือ นำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทให้แก่บุคคลที่เข้าข่ายเป็นว่าที่ลูกจ้างในอนาคต โดยเฉพาะในระดับ Talent ที่หลายบริษัทต่างก็ต้องการตัว ซึ่งบริษัทสามารถทำได้โดยการให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับชีวิตการทำงานกับบริษัทนั้นๆ สู่กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
- วิสัยทัศน์ธุรกิจ และแบบอย่างของภาวะผู้นำของบริษัท
- นโยบายและกระบวนการทำงาน
- ค่านิยมและวัฒนธรรมของบริษัท
- บุคลิกลักษณะขององค์กร
- ชื่อเสียงเกียรติประวัติของบริษัทในสายตาลูกค้าภายนอก
- คุณภาพของสินค้าและบริการ
- มาตรฐานการคัดเลือกบุคลากร และการปฐมนิเทศพนักงาน
- หลักการบริหารให้ได้ผลงานของบริษัท
- การพัฒนาฝึกอบรมพนักงาน
- สภาพแวดล้อมการทำงานโดยทั่วไป
- ระบบผลตอบแทน
- สภาพของพนักงานหลังจากไม่ได้ทำงานกับบริษัทแล้ว
บริษัทที่จะทำ Employment Branding จะต้องชัดเจนในเรื่องของนโยบายและวิสัยทัศน์ ต้องสามารถตอบคำถามได้ว่า เราจะไปทางไหน เราต้องทำอะไร และเราจะได้อะไร ซึ่งผู้บริหาร ฝ่ายการตลาด และ HR จะต้องร่วมกันวางแผน และสื่อสารให้พนักงานเข้าใจตรงกัน เพื่อร่วมกับสร้างภาพลักษณ์ที่ดีออกสู่บุคคลภายนอก
นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วย เช่น เรื่องการทำงานเป็นทีม การมีความรับผิดชอบต่อลูกค้าและงานในหน้าที่ การสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสมในการทำงาน ตลอดจนการมีผู้นำที่ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกน้องปฏิบัติตาม ถ้าผู้นำพร้อมลุย ลูกน้องก็จะมีพลังในการทำงาน ถ้าผู้นำเอาแต่สั่งการ ลูกน้องก็จะเบื่อหน่าย ไม่มีแรงจูงใจที่ดี
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ต้องให้พนักงานได้มีโอกาสในการฝึกอบรม หรือศึกษาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เมื่อพนักงานมีผลงานที่ดี นายจ้างต้องรู้จักยกย่องชมเชย และให้รางวัล นายจ้างที่เอาใจใส่ลูกน้อง ก็จะสามารถมัดใจลูกน้องได้ และได้ความจงรักภักดีตอบแทน
เมื่อบริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดี ใครๆ ก็อยากร่วมงานด้วย โอกาสในการสรรหาและคัดเลือกพนักงานคุณภาพเยี่ยมก็มีมากขึ้น ทั้งยังสามารถรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัทนานๆ ลดอัตราการลาออกของพนักงานได้ด้วย
อย่างไรก็ตามในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลภายนอก แน่นอนว่าแต่ละบริษัทจะต้องนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ที่ดี แต่มีสิ่งหนึ่งที่พึงระวังก็คือ อย่าสร้างภาพเกินความเป็นจริง จนกลายเป็นการโกหกหลอกลวง เมื่อพนักงานเข้ามาทำงานแล้วพบว่าข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับเป็นเพียงการสร้างภาพของบริษัทเท่านั้น ก็คงไม่มีพนักงานคนไหนอยากร่วมงานด้วยไปนานๆ
Compensation & Benefits
ค่าตอบแทน (Compensation) คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่องค์การจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายนี้อาจจ่ายในรูปตัวเงินหรือมิใช่ตัวเงินก็ได้ เพื่อตอบแทนการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ จูงใจให้มีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน และเสริมสร้างฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้ปฏิบัติงานให้ดีขึ้น
- ค่าจ้างและเงินเดือน (Wage and Salary) ได้แก่ ค่าตอบแทนที่องค์การจ่ายให้ผู้ปฏิบัติงาน เป็นรายได้ประจำทุกเดือน
- ค่าจูงใจ (Wage Incentive) ได้แก่ ค่าตอบแทนที่องค์การจัดให้เป็นพิเศษเพื่อจูงใจให้มีการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น เช่น การให้รางวัลพิเศษในการปฏิบัติงาน การเลื่อนตำแหน่ง
- ประโยชน์เกื้อกูล (Fringe benefit) ได้แก่ ค่าตอบแทนที่องค์การจัดให้แก่ผู้ปฏิบัติงานนอกเหนือจากค่าจ้างเงินเดือนและค่าจูงใจ เป็นค่าตอบแทนที่องค์การจัดให้เพื่อสนับสนุนให้มีการทำงานดีขึ้น หรือเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกมั่นคงในการปฏิบัติงานกับองค์การ
Benefits คือ ผลประโยชน์ตอบแทน (financial reward) ที่ไม่ได้จ่ายให้ลูกจ้างโดยตรง เช่น insurance, health ...ผลตอบแทนเพิ่มเติมที่ไมใชตัวเงิน ซึ่งนายจางจายใหกับลูกจางนอกจากเงินเดือนปกติโดยอยางนอยนายจางตองจายตามกฎหมายขั้นต่ำเปนสําคัญรูปแบบของผลประโ ยชนสวนเพิ่มบางครั้งเรียวสวัสดิการพนักงาน เชน คารักษาพยาบาล ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตการจัดบริการอื่นๆใหพนักงาน เชน หองสมุดอาหาร กลางวัน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น